บทสรุปการเรียนรู้เพศวิถีศึกษา
เพศวิถีศึกษา ( Sexuality education) เพศวิถีศึกษา ( Sexuality education) เพศวิถีศึกษา ( Sexuality education) คือ วิชาการศึกษ...
เพศวิถีศึกษา (Sexuality education)
เพศวิถีศึกษา (Sexuality education)
เพศวิถีศึกษา (Sexuality
education) คือ วิชาการศึกษาที่ว่าด้วยความรู้ ความเข้าใจในเรื่องเพศที่ถูกต้อง
เพื่อให้เกิด
การยอมรับ การดูแลปฏิบัติรักษาตนเองในเรื่องสุขอนามัย การรู้และเข้าใจถึงพัฒนาการปลี่ยนแปลงของร่างกาย อารมณ์ และสติปัญญาตามวัย การสร้างสัมพันธ์ระหว่างวัย ตลอดจนความรู้ความเข้าใจ และการตระหนักถึงความสำคัญของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคเอดส์ การดูแลป้องกันลดความเสี่ยงจากพฤติกรรมทางเพศ และการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ทั้งนี้เพศวิถีศึกษาเป็นคำนิยามความหมายของคำว่า เพศ ในนัยหนึ่ง ซึ่ง “เพศ” มีความหมายตามลักษณะนัยสำคัญ 3 ความหมาย คือหมายถึงเพศสรีระ (Sex) เพศภาวะ (Gender) และเพศวิถี(Sexuality)
การยอมรับ การดูแลปฏิบัติรักษาตนเองในเรื่องสุขอนามัย การรู้และเข้าใจถึงพัฒนาการปลี่ยนแปลงของร่างกาย อารมณ์ และสติปัญญาตามวัย การสร้างสัมพันธ์ระหว่างวัย ตลอดจนความรู้ความเข้าใจ และการตระหนักถึงความสำคัญของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคเอดส์ การดูแลป้องกันลดความเสี่ยงจากพฤติกรรมทางเพศ และการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ทั้งนี้เพศวิถีศึกษาเป็นคำนิยามความหมายของคำว่า เพศ ในนัยหนึ่ง ซึ่ง “เพศ” มีความหมายตามลักษณะนัยสำคัญ 3 ความหมาย คือหมายถึงเพศสรีระ (Sex) เพศภาวะ (Gender) และเพศวิถี(Sexuality)
ทั้งนี้เพศวิถีศึกษามีความสำคัญต่อการเรียนการสอนของวัยรุ่น
คือ
ช่วยให้นักเรียนเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของร่างกายตามธรรมชาติของเพศ
การเปลี่ยนแปลงอารมณ์ ความคิด ความรู้สึก และความสัมพันธ์ระหว่างเพศ
รู้จักการดูแลรักษาอวัยวะเพศ และระบบสืบพันธุ์ของมนุษย์ รู้และเข้าใจการมีเพศสัมพันธ์
โรคติดต่อ และปัญหาจากการมีเพศสัมพันธ์ ช่วยให้รู้ เข้าใจ
และยอมรับในความแตกต่างของเพศ
ตลอดจนเป็นแนวทางในการปูพื้นฐานการวางแผนและสร้างความมั่นคงให้กับชีวิตผ่านมิติมุมมองของเพศวิถี
ซึ่งประกอบไปด้วย 6 มิติ คือ
มิติของความปรารถนาการประพฤติ ปฏิบัติ และอัตลักษณ์ (Erotic desires,
Practices and Identity) มิติการนำเสนอร่างกาย (Appearances
and Display) มิติของพฤติกรรม และกิริยามารยาท (Behaviors
and Manners) มิติของการดึงดูดทางเพศ (Attraction) มิติของความสัมพันธ์ (Relationship) มิติของเพศสัมพันธ์
(Having sex)
บทบาทของเพศวิถีศึกษาที่สำคัญ ๆ คือ
ช่วยให้นักเรียนเข้าใจและยอมรับหน้าที่ตามเพศของตนและผู้อื่น
เข้าใจความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันในฐานะเพื่อน ให้เกียรติกัน
สร้างความตระหนักถึงความแตกต่างในลักษณะการนึกคิดและพฤติกรรมทางเพศ
และยอมรับความแตกต่าง เข้าใจการเลือกคู่เข้าใจการเตรียมตัวรับผิดชอบต่อครอบครัว
เข้าใจการเลี้ยงดูบุตรธิดาให้เติบโตเป็นพลเมืองดีของสังคม
เพศวิถีศึกษาต้องก้าวข้ามการศึกษาแค่พฤติกรรมทางเพศ
และปัจจัยด้านประชากรและสังคม อันได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ อายุ การศึกษา ฯลฯ
เพราะเรื่องเพศของผู้คนในสังคมไทยเป็นมากกว่าการมีเซ็กซ์ หรือพฤติกรรมทางเพศ แต่เป็นเรื่องของการให้ความหมาย
ความเชื่อ การให้คุณค่าเรื่องเพศ ความรู้สึก ความปรารถนาทางเพศ
อัตลักษณ์และรสนิยมเรื่องเพศของผู้คนในสังคมไทย ทั้งในพื้นที่ส่วนตัวและการแสดงออกในที่สาธารณะและการถูกกำหนดโดยปัจจัยด้านการ
เมือง สังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ